ล้วงความลับ! ประติมากรรมวัดอรุณราชวรารามที่ซ่อนอยู่

ความเป็นมาของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร 

พระปรางค์ แต่เดิมชื่อว่าวัดมะกอก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี ต่อมาพระเจ้าตากได้ขึ้นทัพมาพร้อมไพร่พล มาถวายหน้าวัดมะกอก เป็นชื่อวัดแจ้ง แล้วได้ขึ้นมาบูรณะปฏิสังขรณ์ มาสร้างวังของพระองค์(วังเดิม) บูรณะวัดมะกอกด้วย จึงอยู่ในเขตพระราชทานเหมือนพระแก้ว วัดถึงไม่มีพระจำพรรษา จึงเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ศรีมหาสมุทร ปกครองอยู่ 15 ปี สมัยนั้นจากวัดมะกอก เป็นวัดแจ้งอยู่ 15 ปี สิ้นรัชกาลสมัยพระเจ้าตาก เปลี่ยนเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ ของเดิมๆมีองค์พระปรางค์ แต่ก่อนเตี้ยสูง 16 วา มีโบสถ์น้อยวิหารน้อยคู่กันตั้งแต่สมัยโบราน ย้อนกลับมาดูองค์พระปราง ได้สร้างครอบของเดิมที่สูง 16 วา ได้เริ่มสร้างสมัยรัชกาลที่1 และ รัชกาลที่2 ได้เริ่มสร้างจริงจัง กับพื้นที่วางนั่งร้านวางศิลาฤกษ์ แต่รัชกาลที่ 2 สวรรคต รัชกาลที่ 3 ได้สร้างขึ้นต่อจนเสร็จ จนตอนนี้มีความสูง 67 เมตร ตามแผนที่ทหาร แต่บางตำราบอกสูงกว่านี้ ประกอบด้วยปรางทิพย์ สี่ทิศ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ – ใต้ องค์พระปรางจะอยู่เฉียง ส่วนซุ้มมณฑป จะอยู่สี่ทิศหลักเหนือใต้ออกตก ความหมายต่างกัน มีพระพุทธรูปต่างกันแต่ละองค์

องค์พระปรางค์

พระปรางค์ที่สูงใหญ่เปรียบเสมือน ภูเขาสิเนรุ มีในเรื่องของสวรรค์เทวดาอาศัย เป็นที่อยู่ของคนดี รอบล้อมไปด้วย ศูนย์กลางแห่งจักรวาล มีความหมายให้เห็นถึงองค์พระปรางค์เป็นเจดีย์แห่งพระนครสถาปัตยกรรมในการสร้างองค์พระปรางค์มีความโดดเด่น เชื่อมความสัมพันธ์ในด้านวัฒนธรรมหลาย ๆ ชาติ เช่น ฮินดู พุทธ เป็นต้น ใกล้ ๆ จะเห็นทางบันไดขึ้นไป มีปูนปั้น มีรูปหนุมาณกระบี่แบก พญามาร ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา องค์พระปรางค์มีบันไดทั้งหมด 312 ขั้น จากพื้นไปถึงชั้น1 มี 6ขั้น ต่อไปมี 8ขั้น ต่อไป 21ขั้น มี 4ด้าน ชั้นสี่ 17ขั้น สี่ด้าน 312 ขั้น มีความหมายว่ามงคลในทางจีน บ่งบอกให้รู้ความมีนัยยะที่สายมู วิทยาศาสตร์ องค์พระปรางค์สร้างมาหลายร้อยปีไม่มีทรุดทั้ง ๆ ที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา องค์พระปรางค์ไม่ทาสี แต่จะมีสีที่สะท้อนหลากหลายในลายกระเบื้อง ตอนเช้าพระอาทิตย์ขึ้นก็จะเป็นอีกสี ตอนกลางคืนส่องไฟก็จะแววประกาย คนเห็นจะไม่น่ากลัว แต่กลับมีความโดดเด่น ฝั่งตรงข้ามจะมีคนมารอถ่ายรูปพระปรางค์ ทั้งในลำน้ำก็จะมีคนล่องเรือมาชม จึงเป็นวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างเช่น นก หงส์ แสดงถึงวัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับพม่า มีเสาเหมือนศิลาแลงเชื่อมเขมร บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน ไม่ได้แบ่งแยกแต่รวมเป็นปึกแผ่น เชื่อมทั้งศาสนา และสถาปัตยกรรม มีครุฑยุทธนาค ด้านบนเป็นนพศูล เก้าแฉกมงกุฎครอบ สื่อว่าสืบทอดให้ด้านพระพุทธศาสนา ทั้งมหากษัตริย์ มีแค่องค์พระปรางค์วัดอรุณที่มีมงกุฎครอบ ซุ้มจะมีสิ่งคือพระพุทธรูปทั้งสี่ เหนือประสูติ ตะวันออกตรัสรู้ ใต้เทศนา ตะวันตกปรินิพพาน ความเชื่อคือใครอยากจะแต่งงานไม่มีบุตรไหว้ทิศเหนือประสูติ ตรัสรู้ปัญญาเฉียบแหลม เทศนาคือนักสื่อสารนักพูด ตะวันตกปรินิพพานขออายุยืนนาน

ประติมากรรมองค์ปรางค์พระปรางค์ใหญ่

ประติมากกรรมมีทั้งการใช้หอยเบี้ยแก้ในการตกแต่งพระปรางค์ หอยเบี้ยแก้แสดงถึงการผสมผสานวัฒนธรรม และมีบางความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคได้ จึงนิยมทำมาเป็นของขลังและมีการใช้กระเบื้องหลายสีมาติดต่อกันเพื่อให้ได้สีสันที่สวยงามตามความต้องการ หัวเสามีศิลา มีนก ชั้นบนเกือบสุดมีพระนารายณ์ทรงครุฑ เหนือขึ้นไปจึงเป็นส่วนเรือนธาตุ มีฐานเป็นเทวดาแบก ที่เรือนธาตุประดับประติมากรรมรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ชั้นเชิงบาตร มีครุฑแบก เหนือขึ้นไปเป็นพระนารายณ์ เหนือเรือนธาตุเป็นส่วนยอดปรางค์ เปรียบเสมือนพระเจดีย์จุฬามณีที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระปรางค์วัดอรุณจึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาล และเป็นพระมหาธาตุประจำพระนคร

ยักษ์หน้าพระอุโบสถ

ตัวเขียวชื่อ ทศกัณฐ์ สีขาวคือสหาย สหัสเดชะ ทั้งคู่เป็นพญายักษ์คู่แรกของรัตนโกสินทร์ สร้างในรัชกาลที่ 3  เป็นยักษ์ ที่ดีมีศีลไม่ดุร้ายใจดี ในปัจจุบันทางวัดได้นำพญายักษ์มาทำเป็นวัตถุมงคล เพื่อที่จะทำให้คนที่เคารพนำไปบูชา ในช่วงที่ทำก็จะมีคนบูชาจำนวนมาก เงินจากการบูชาพญายักษ์วัดแจ้ง นำเงินมาบูรณะวัด พญายักษ์จึงช่วยกันลงมาทำถนน ให้เดินสะดวก ไม่เคยเดินไปตีกับยักษ์วัดโพธิ์ตามที่คนลือกัน และในโบสถ์น้อยมีท้าวเวสสุวรรณ พญายักษ์สร้างไว้เพราะเป็นทหารเอกของพระพุทธเจ้าที่คอยคุ้มครองดูแลพิทักษ์ทางเดินสู่อุโบสถ คนในสมัยก่อนจึงนิยมสร้างไว้คอยดูแลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้านในมีพระประธาน มีซุ้มประตูมงกุฎ ที่สำคัญ มีทางเสด็จของราชวงศ์ จนมีความเชื่อว่าคนใต้ยศใต้ตำแหน่ง เวลาจะกราบก็ต้องเดินผ่านซุ้มมงกุฎ สร้างไว้คุ้มครองดูแลสิ่งต่าง ๆ ในวัด

เจดีย์ถะ 

นำมาจากจีน ในซุ้มก็จะมีเซียน(โป๊ยเซียน) เป็นครูสอนธรรมมะ บางองค์ก็จะถือกระเช้า หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง บางองค์เป็นนักรบ บางองค์ถือถุงทอง รอบ ๆ จะมีพระพุทธรูปเก่าโบราณ 120 องค์ ด้านในพระอุโบสถ หัวเสาจะเป็นบัวก้านยาว ตามเสาจะประดับด้วยลายกระเบื้อง ตัดแต่งเป็นดอกไม้ติดไว้ แสดงถึงความบูชาพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปด้านความเชื่อพระพุทธนฤมิตร รัชกาลที่ 4 สร้างถวายรัชกาลที่ 2(พระบิดา) ราชวงศ์เวลามาก็จะวางพวงมาลัยก่อนจะกลับ

พระอุโบสถ 

เป็นทรงแอ่นเหมือนท้องเรือ บ่งบอกถึงความเป็นอยุธยา (แต่ไม่ได้สร้างในอยุธยา) ในสมัยกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น ความเป็นอยุธยาก็ยังคงอยู่ ในสมัยโบราณจึงได้รื้อกำแพงสมัยกรุงศรีใส่เรือมาขึ้นทำเป็นกำแพง วิญญาณความเป็นอยุธยาก็ยังคงอยู่ พอมาในรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 หยุดเลิกนำหินอิฐมา พระอุโบสถจึงเป็นศูนย์กลางของการทำกิจกรรมของวัดอรุณ 

ภายในพระอุโบสถ 

มีพระประธานชื่อ “พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก” พระพักตร์ปั้นด้วยฝีมือรัชกาลที่ 2 ผ้าทิพย์มีอัฐิรัชกาลที่ 2 ภาพกิจกรรมฝาผนังต่าง ๆ สีที่วาด ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ต่อมาเมื่อผ่านมาอุโบสถไฟไหม้ รัชกาลที่ 5 เลยรับสั่งให้เอากระดาษไปปิดตรงที่รูปที่ยังดีอยู่ เพื่อที่จะไม่ต้องลบรูปเก่า และสามารถให้เขียนต่อมาเลย ภาพในโบสถ์เป็นพุทธประวัติ กับทศชาติชาดก ด้านบนสุดถึงพระประธานเป็นภาพพุทธประวัติ เทวทูตสี่ วัดอรุณวาดเกินเพิ่มมา ต่อมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช ก่อนที่จะออกไปก็ดูราหุลกับนางพิมพา ผลสุดท้ายก็ออกบวช ด้านหลังพระประธาน เป็นเรื่องปรินิพพาน มีการเผา แต่ในการเผาที่จิตกรวาดก็จะแปลกตรงที่มีการแสดงในงานพิธีเผาศพด้วยมายากล

เก๋งจีนสมัยรัชกาลที่3

ที่ใช้ทำการค้าขายกับชาวจีนและยังเป็นท่าเสด็จของเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ปัจจุบันมีการกั้นไว้ไม่ให้ผู้คนเข้าไป สงวนไว้ให้ราชวงศ์

รูปปั้นรัชกาลที่2 

สร้างไว้เป็นอนุสรณ์ เป็นวัดประจำรัชกาล มีสามช้าง 3 ตัว คือ ศเวชกุญชร ไอยรา คชรัตน์ มีอริยาบทที่แตกต่างกันไป เพื่อแสดงถึงสัตว์ประจำรัชกาลที่ 2

วิหารน้อย 

พระเจดีย์จุฬามณี อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ชั้นที่ 3 รอบๆมีเทวดา สิ่งที่อยู่ในเจดีย์มี เส้นผมของเจ้าชายสิทธัตถะตอนออกบวช เทวดามาเอาไปไว้ในเจดีย์ ดวงพระวิญญาณของนางศิริมหามายาและพระเขี้ยวแก้วหรือว่าธาตุของพระพุทธเจ้าได้ขโมยไปซี่นึง ที่เจดีย์จุฬามณี มีความเชื่อว่าคนแก่ในเมืองมนุษย์ใกล้เสียชีวิต ขณะที่นอนแต่ยังรับรู้ได้ เวลาลูกหลานพูดแต่รับรู้ได้ ร่างกายขยับไม่ได้ ส่วนใหญ่ที่มีความเชื่อให้เอาดอกไม้ไปวางไว้ที่เจดีย์จุฬามณี รอบ ๆ ข้างคือเทวดาที่อยู่ชั้นจาตุมหาราช เป็นสวรรค์ต่ำสุด มีท้าวเวสสุวรรณ

ในเขตพระอุโบสถ

เขตประอุโบสถใช้ในพิธีการบวชพระมากมาย มีการตกแต่งแบบประติมากรรมก้านบัวเพื่อความสวยงาม และ ละเอียดอ่อน อีกทั้งยังมีเสาหินทราย และ รูปปั้น สมัยรัชกาลที่ 3 ที่ได้มาจากการค้าขายกับจีนและใช้ถ่วงท้องเรือกลับมา

รูปปัั้นบริเวณวัด

รูปปั้นกินรี เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ในจินตนาการป่าหิมพานต์ ครึ่งนกครึ่งคน ถือว่าดูแลพิทักษ์ในป่า มีรูปร่างที่ต่างกันไป ตามเรื่องเล่า

พระมหายาน เป็นนักบวช

ลั่นถั่น เป็น ตุ๊กตาหินท้าวเอวถืออาวุธ แต่งกายงิ้ว เป็นนักรบ หน้าตาดุเหมือนทหารจ้องมองอยู่ มีเสื้อเกราะรัดตัว เป็นนักรบระดับขุนพล